kabuvi

Limit downside, Be focus

หุ้นค้าปลีกในประเทศญี่ปุ่น (ภาค 1)

10 Comments

ถ้าพูดถึงร้านสะดวกซื้อในประเทศไทย คงไม่มีใครปฏิเสธว่า 7-11 เป็นผู้ครองตลาด ทิ้งห่างอันดับสองอย่าง family mart อย่างไม่เห็นฝุ่น (7-11 มีจำนวนสาขา ประมาณ 6000 สาขา ในขณะที่ family mart ในไทยมีสาขาเพียงประมาณ 700 สาขา) เท่าที่ผมทราบ family mart มุ่งขยายสาขามากๆ ในประเทศเกาหลีใต้โดยมีสาขาเกือบ 6000 สาขา ในขณะที่ 7-11 ในเกาหลีมีสาขาอยู่ประมาณแค่ 3500 สาขา ผมไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม family mart ในประเทศไทยไม่มุ่งขยายสาขาเพื่อสู้กับพี่ใหญ่อย่าง 7-11 ใครรู้ช่วยบอกผมด้วยนะครับ ^^

เร็วๆนี้ผมได้มีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับหุ้นค้าปลีกของประเทศญี่ปุ่นเพิ่มเติมโดยเฉพาะธุรกิจที่เป็นร้านสะดวกซื้อ ประเทศญี่ปุ่นมีร้านสะดวกที่มี Market Cap ใหญ่ๆ อยู่ 3 เจ้าคือ Seven-Eleven, Lawson, Family Mart,  โดยทั้ง 3 เจ้ามีจำนวน สาขาที่เปิดในประเทศ/ต่างประเทศ รวมทั้งหมดตามข้อมูลด้านล่าง (as of 2/2011)

Seven Eleven: ในประเทศ 13,232 สาขา/ ต่างประเทศ 40,871 สาขา

Lawson: ในประเทศ 9,994 สาขา/ ต่างประเทศ 319 สาขา

Family Mart: ในประเทศ 8,248 สาขา/ ต่างประเทศ 9,350 สาขา

ดูจากตัวเลขจะเห็นได้ว่า Seven Eleven กับ Family Mart เน้นทั้งธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นเองและต่างประเทศ ส่วน Lawson เน้นขยายสาขาในประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก และไม่ได้ออกไปนอกประเทศมากนัก แต่จากข่าวล่าสุด Lawson เริ่มเน้นรับพนักงานที่เป็นคนต่างชาติมากขึ้น และมีแผนมุ่งขยายสาขาในประเทศจีน และ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล่าสุดเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ได้ร่วมกับ MIDI ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ธุรกิจค้าปลีกและโลจิสติกสัญชาติอินโดนีเซียเพิ่อเปิดร้านสะดวกซื้อแบรนด์ Lawson ในประเทศอินโดนีเซียเอง

ถ้าดูในส่วนของ forward P/E, PBV, ROE, ROA (as of 2/5/2012) ตามข้อมูลและประมาณการของ Rakuten Securities ที่ผมใช้อยู่จะได้ข้อมูลตามด้านล่าง

Seven Eleven: PE 13.71 / PBV 1.2 / ROE 6.6% / ROA 3.0%

Lawson: PE 16.09 /PBV 2.53 / ROE 12.5% / ROA 5.3%

Family Mart: PE 16.40 / PBV 1.56 /  ROE 8.6% / ROA 4.1%

สำหรับการเติบโตในส่วนของรายได้และกำไร ของแค่ละบริษัทก็ไม่ได้กระโดดมากนัก อยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี ดูแล้วการขยายสาขาภายในประเทศญี่ปุ่นเองในขณะนี้ค่อนข้างชะลอตัว แต่จะไปโตในต่างประเทศมากกว่า ถ้าดูคร่าวๆ ทั้งสามบริษัท แล้วให้ผมเลือก ผมคงเลือกลงทุนใน Lawson เนื่องจากมีโอกาสที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนั้นจากการสนับสนุนของบริษัทแม่อย่าง Mitsubishi Corporation ซึ่งมีเครือข่ายค้าปลีกและโลจิสติกแข็งแรงในประเทศจีน ทำให้ Lawson มีโอกาสขยายธุรกิจเพิ่มเติมในประเทศจีนอีกด้วย อย่างไรก็ตามถ้าให้ผมเอาบริษัทอื่นๆเข้ามาประกอบการตัดสินใจด้วย ผมคงไม่เลือกทั้งสามบริษัท ^^”

จากที่ผมดูบริษัทอื่นๆในกลุ่มค้าปลีกของประเทศญี่ปุ่น หลายๆบริษัทมี P/E 10 กว่าๆ และบางบริษัท P/E < 10 ซึ่งถ้ามาดูบริษัทในกลุ่มค้าปลีกที่ซื้อขายกันในประเทศไทยจะเห็นว่าส่วนใหญ่มี P/E > 20 ยิ่ง CPALL ตอนนี้ ซื้อขายกันที่ P/E มากกว่า 40 …. เหตุผลส่วนหนึ่งอาจจะมาจาก การที่ 7-11 ในประเทศไทยนั้นถือได้ว่าเป็นผู้นำอย่างแท้จริง ทำกำไรเติบโตสูงได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นร้านสะดวกซื้อบริษัทเดียว ที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ ถามว่า 7-11 ตอนนี้ซื้อขายกันที่ P/E สูงเกินไปรึป่าว อาจจะตอบยาก เพราะดูแล้ว 7-11 ยังมีโอกาสเติบโตต่อไปเรื่อยๆ ทั้งในประเทศและนอกประเทศ ล่าสุดสนใจจะขยายไปในส่วนของประเทศจีนและเวียดนามด้วย น่ายินดีสำหรับผู้ถือหุ้นในบริษัทที่มีผู้บริหารและทีมงานที่มีความสามารถครับ ^^

10 thoughts on “หุ้นค้าปลีกในประเทศญี่ปุ่น (ภาค 1)

  1. 7อย่างเราึืถือว่ามีปัจจัยส่งเสริมรอบด้านจริงๆครับ และถือว่าเป็นผู้ชนะสงครามโดยแท้
    ปฏิเสธได้ยากว่า ส่วนสำคัญที่ทำให้คนสนใจคือความสำเร็จของ ดร.
    ที่ทำให้นักลงทุนหน้าใหม่ๆที่เพิ่งลงทุน ยังประเมิณมูลค่าไม่ได้ ก็ซื้อตามๆกันไป
    จนราคาวิ่งนำหน้าผลประกอบการณ์ไปไกลโข

    ไม่ทราบว่าในญี่ปุ่น มี นักลงทุนที่เป็น Celeb แบบบ้านเราที่ส่งผลอย่างมีนัยยะบ้างมั้ยครับ

    ผมมองว่าการขยายตัวตลาดในประเทศใน 7 ก็จะลดความเร่งลงเรื่อยๆ ด้วยฐานสาขาที่ใหญ่ขึ้น พอเปิดเพิ่มสาขาเท่าเดิม %Growth ก็จะลดลงเป็นธรรมดา เ้ว้นแต่จะขยายในตปท.แทน

    ผมเคยดูข้อมูลของ Walmart เทียบกับบ้านเรา ก็สอดคล้องกับที่คุณโจ๊กให้มาคือ P/E & Growth ของตลาดที่อิ่มตัว ได้ชะลอตัวจนแทบจะนิ่งมาพักใหญ่แล้ว
    แต่ด้วยวัฒนธรรมที่บ้านแต่ละตัวค่อนข้างห่างๆกัน Model แบบโก๊ะ อาจะไม่ได้ผลเท่าบ้านเรา

    • ที่ญี่ปุ่นมีคนลงทุนแนว VI เหมือนกันครับ มีหนังสือแนวนี้ขายเหมือนกัน แต่ไม่แน่ใจว่าใครเป็น idol
      แต่พวกหุ้นค้าปลีกไม่ต้องแย่งกันซื้อเหมือนกับประเทศไทย อย่างที่บอกไว้ มีค้าปลีกให้เลือกซื้อกันเกิน 400 บริษัทครับ ^^

      • ุคุณพระ 400 ! นี่ มันเพิ่่มขึ้น หรือลดลงจากที่ผ่านมาัคับ

  2. ปกติค้าปลีกไม่ค่อยเจ๊งน่ะครับ แต่ช่วงหลังๆ ก็ไม่ค่อยเพิ่มเท่าไหร่ เพิ่มบ้างเล็กน้อย ที่ญี่ปุ่นหุ้นเข้า IPO จำนวนน้อยลงครับ

  3. ทรัพยากรมีจำกัดคับพี่
    ภาพที่เราเห็น 7-11ในไทยมันต้องแบ่งเป็นสองช่วง
    คือ ช่วงบุกเบิก กับ ต่อยอด

    ช่วงบุกเบิกจะเห็นการแย่งชิงกัน แต่ทำเลดีๆ 7-11จะชนะ fammart ตลอด
    เช่นป้ายรถเมล์สำคัญ สะพานลอยสำคัญๆ fammart กระเด็นไปหลายห้องแถวเลยคับ
    แต่คนไม่สังเกตกันเอง เพราะดูแต่ช่วงต่อยอดแล้ว
    แล้ว 7-11ยึด ที่มั่นสำคัญไม่เคยปิด
    ยังไงคู่แข่งก็ไม่มีทางสู้ สุดท้ายมันก็แข่งไม่ไหวไปเองคับ

  4. อันบนนั่นผมแอบตอบที่พี่สงสัยนะว่า fammart ทำไมไม่แข่งต่อ

    • ขอบคุณมากครับ สำหรับความเห็น ^^
      แสดงว่าน้อง nut776 มองว่า family mart ยังไงก็แข่งสู้ 7-11 ไม่ได้เลยเลิกแข่งไป อาจจะเป็นเพราะว่า ทำเล สู้ไม่ได้ ??

      แต่ผมก็ยังตั้งคำถามต่อว่า แล้วทำไม Lotus Express กับ Mini BigC เค้าถึงกล้าประกาศขยายสาขาอย่าง aggressive ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป คิดว่าประมาณ 500 สา่ขาต่อปี (เท่าๆกับ 7-11) เค้าไม่กลัว 7-11 เหมือน family mart เหรอ? ขยายปีเดียว เกือบเท่ากับจำนวนสาขาที่ family mart มีตอนนี้เลย

      อาจจะเป็นไปได้ที่ family mart คงไม่อยากสู้ในสมรภูมิรบที่เหมือนกับว่าตัวเองเีสียเปรียบ ไปเล่นในสมรภูิมิหรือประเทศที่ตัวเองเป็นเจ้าตลาดอยู่ดีกว่า
      คงต้องตามดูกันต่อไปว่า Lotus Express, Mini BigC, MaxValu 108 Shop จะแข่งกันกับ 7-11 เจ้าพ่อร้านสะดวกซื้อในเืมืองไทยได้ยังไง ^^

      • ผมคิดว่า bigc lotus เหมือนมี resource อยู่ในมือ
        ก็เลยอยากจะ bet ผ่านกำแพงอะคับ
        คือส่วนตัวผมคิดว่า hypermart กับ convenience store
        น่าจะมีอะไร ลึกๆ ที่กั้นอยู่
        ซึ่งตรงนี้ผมก็ยังไม่ทราบคำตอบเหมือกนกัน
        เพราะตอน cpall อาจหาญไปทำ hypermart ก็ไม่รุ่ง
        ผมว่า 500 สาขา ต้องดูคับ
        เพราะ ไม่รู้ว่าจะตูมเดียวเลยหรือเปล่า
        แต่ถ้าทยอยทำ ก็น่าจะถอยได้ถ้าไม่ work
        อีกอย่างทยอยทำผมว่า อาจจะไม่ได้ใช้เงินลงทุนมาก
        เพราะ constore มันเหมือนกองโจรอะคับ

  5. น่าสนใจนะ พี่ไปญี่ปุ่นทีไรก็ตื่นตาตื่นใจกับ ร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์ที่นั่น ในเมืองไทย Familymart เข้ามาเกือบ 10 ปีแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถแจ้งเกิดได้ในไทย เข้าไปเดิน FamilyMart(ในไทย) แล้วรู้สึกว่าสินค้าดูไม่น่าสนใจ อย่างเช่น สินค้าประเภทเดียวกันซื่งมี 4-5 ยี่ห้อ ทาง 7Eleven ได้ยี่ห้อ 1 2 3 ซึ่งเป็นผู้นำ ส่วน FamilyMart มียี่ห้อ 3 4 5 ซึ่งเป็นแบรนด์รอง ทำให้บางทีเดินจนทั่วแล้วไม่ซื้อเพราะไม่คุ้นกับยี่ห้อเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น นม โยเกิต

    แต่ช่วงนี้มี ร้านสะดวกซื้อที่เพิ่งเข้ามาใหม่และดูว่ามาแรงมากจริงๆ ตอนแรกที่เห็นก็คิดว่าจะไปรอดเหรอ แต่นี่ผ่านมาเกือบ 2 ปี เห็นสาขาเปิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และพี่ก็ไปซื้อที่นั่นบ่อย ขึ้นเรื่อยๆ ร้านที่ว่าคือ MaxValue มีสินค้าในระดับเดียวกับ 7Eleven และเพิ่มด้วยสินค้าสด และ บวกกับสินค้านำเข้าบางรายการ สามารถจ่ายค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิตได้
    ขอเสียอย่างเดียวคือทำเลร้านยังสู้ 7Eleven ไม่ได้
    เหมือนกับหาทำเลที่ไม่ใช่แหล่งชุมชนหรือหัวมุมเหมือน 7Eleven แต่เน้นจุดที่ไม่มีคู่แข่งออกจะดูเงียบๆ หน่อย และอีกที่ที่เห็นได้มากขึ้นก็คือใต้คอนโดที่เพิ่งเปิดใหม่

    ตอนนี้ถ้า MaxValue ตั้งคู่ 7Eleven พี่และแฟนพี่เข้า MaxValue ^_^

    • ผมว่าสิ่งที่ Family mart ในเมืองไทยแพ้ 7-11 คือความมุ่งมั่นในการเป็นที่หนึ่งในร้านสะดวกซื้อครับ อีกอย่าง CEO ของ 7-11 รวมทั้งทีมงานของเค้าเก่งมากๆ แถม 7-11 มีแบ็คอัพเป็นกลุ่ม CP ซึ่งแตกต่างที่ Family Mart ที่มาจับกับบริษัทในประเทศไทยที่ไม่ได้ใหญ่มากนัก (ผมจำชื่อไม่ได้) การบริหารงานของ Family Mart จึงเป็นแบบ conservative ตามสไตล์ญี่ปุ่น

      ส่วน MaxValu อย่างที่พี่เป้รู้แล้วคือเป็นร้านสะดวกซื้อที่บริหารโดย Aeont ยักษ์ใหญ่ในวงการห้างสรรพสินค้าของญี่ปุ่น ที่ญ๊่ปุ่นผมก็ไม่ค่อยเห็นร้านนี้เท่าไหร่นะ คิดว่าน่าจะเด่นเป็นบริเวณๆ หรือ ต่างจังหวัด
      ส่วนที่เมืองไทย MaxValu เน้นลูกค้าระดับบน ของที่ขายจะเป็นแบบ premium หน่อย โดยแหล่งที่มีลูกค้าญี่ปุ่นเยอะๆน่ะครับเป้าหมายเค้าเลย

      ว่าแต่ว่า MaxValu ใช้บริการจัดการสินค้าคงคลังและเก็บข้อมูลแบบบาร์โค้ดของที่ไหนนะ ^^

Leave a comment