kabuvi

Limit downside, Be focus


7 Comments

The new era of Big Japanese trading companies

ขึ้นชื่อว่า trading company แล้ว ส่วนใหญ่ธุรกิจจะเป็นลักษณะซื้อมาขายไป อาจจะเป็นการซื้อมาขายไปภายในประเทศหรือข้ามประเทศก็ได้ ถ้าพูดถึง Big Japanese trading companies ขนาดใหญ่แล้ว หลายๆคนคงจะนึกถึงชื่อของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Mitsubishi Corporation, Sumitomo Corporation, Mitsui & Co, Itochu, Marubeni ซึ่งบางบริษัทเพิ่งจะทำสถิติกำไรสูงสุดเป็นประวัติการไปในปีล่าสุด 3/2012 ที่ผ่านมา ถามว่าบริษัทขายสินค้าได้ดีขึ้นรึเปล่า? อาจจะเป็นไปได้จากการที่หลายๆประเทศเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว แล้วทำไมบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆอีกหลายบริษัทยังประสบกับปัญหาขาดทุน โดยเฉพาะจากค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น เช่น รถยนต์ค่ายยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย พานาโซนิก โซนี่ ชาร์ป เป็นต้น จริงๆแล้วสาเหตุส่วนหนึ่งที่แต่ละบริษัททำกำไรได้ดีแม้ว่าค่าเงินเย็นไม่เป็นใจ คือการใช้โอกาสดังกล่าว ทำตัวเป็น Holding Company โดยซื้อธุรกิจต่างๆเข้ามาเป็นของตัวเองจำนวนมาก ธุรกิจดังกล่าวกระจายตัวอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นแถบเอเชีย ยุโรป แอฟริกา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับพลังงาน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริหารน้ำ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ หรือสัมปทานต่างๆ นอกจากนั้นยังไปลงทุนเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆในต่างประเทศอีกหลายๆบริษัทอีกด้วย

เห็นได้ว่า ณ ปัจจุบัน Big Japanese Trading Companies ไม่ได้มีกำไรจากธุรกิจการซื้อมาขายไปเพียงอย่างเดียว รายได้และกำไรของบริษัทเกี่ยวกับธุรกิจอื่นๆ ทั่วโลกได้เพิ่มสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ ถือได้ว่าเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่ รวมทั้งใช้วิกฤติเป็นโอกาสในการเติบโต ถามว่าตลาดมองบริษัทเหล่านี้แตกต่างจากอดีตอย่างไรบ้าง? ผมเก็บข้อมูลค่าต่างๆ ที่ตลาดมอบให้กับบริษัทดังกล่าว ปรากฏว่า ตลาดไม่ได้ตื่นเต้นกับสิ่งดังกล่าวเลยแม้แต่น้อย หลายๆบริษัทมีราคาหุ้นที่แทบจะไม่แตกต่างจากราคาหุ้นหลังเกิดวิกฤติเลห์แมน ทำให้ค่า P/E, P/BV ที่ตลาดให้นั้น น้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่เคยได้รับในอดีตค่อนข้างพอสมควร นอกจากนั้น Dividend Yield ของบริษัทดังกล่าวก็ปรับตัวสูงขึ้นจนอยู่ในระดับ ประมาณ 5% ต่อปี ซึ่งถือได้ว่าไม่น้อยเลยสำหรับประเทศที่ได้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำเกือบ 0% ต่อปี

ด้านล่างเป็นข้อมูลเกี่ยวกับค่า forward P/E และ P/BV ของ Big Japanese trading companies ในประเทศญี่ปุ่น (ข้อมูลจาก Rakuten Securities)

Mitsubishi Corporation      P/E  5.27           P/BV  0.74
Sumitomo Corporation      P/E  5.32            P/BV  0.82
Mitsui& Co.                              P/E  5.23            P/BV  0.81
Itochu                                        P/E  4.39           P/BV  0.96
Marubeni                                  P/E  4.35           P/BV  1.07

การที่ตลาดให้ค่า P/E ของแต่ละบริษัทในระดับนี้ ทำให้แม้ว่าบริษัทไป Takeover บริษัทอื่นๆมาและทำให้กำไรของบริษัทดีขึ้น ก็อาจไม่ได้ประโยชน์ในแง่ของราคาหุ้น ที่เรามักจะเห็นเมื่อบริษัทขนาดใหญ่และมี P/E ในระดับสูง ได้รับหลังจากที่ไป Takeover บริษัทขนาดเล็กที่มี P/E ต่ำกว่าตัวเอง อย่างไรก็ตาม ผมมองว่าการลงทุนในบริษัท Big Japanese Trading Companies ขณะนี้เป็นการลงทุนที่มี Downside risk ค่อนข้างจำกัด ไม่ว่าจะพิจารณาจากผลตอบแทนของเงินปันผล ซึ่งเป็นเกราะคุ้มกันการตกลงของราคาหุ้น และค่า P/E เทียบกับแนวโน้มการเติบโตของบริษัท ถ้าคุณกำลังสนใจลงทุนในตลาดญี่ปุ่นและกำลังเลือกหุ้น Big Cap ซักตัว ผมว่า บริษัทในกลุ่มนี้อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีและน่าศีกษาสำหรับเพื่อนๆก็ได้ครับ